โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม ร่วมกับโรงเรียน ภาคตะวันออกและโรงเรียนเครือข่าย 46 ICT ร่วมอบรม “โครงการ Google Coding Teacher Leader” เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพในการสอน “Computational Thinking ภายใต้การสนับสนุนของ Google
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับงาน บุคคลากรทางการศึกษาโรงเรียนภาคตะวันออกและโรงเรียนเครือข่าย 46 ICT ร่วมอบรม “โครงการ Google Coding Teacher Leader” เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพในการสอน “Computational Thinking ภายใต้การสนับสนุนของ Google เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมอิ่มเอิบ โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562นายคงเดช โชติจำลอง ผู้อำนวยการโรงเรียนสัตหีบวิทยาคม ร่วมด้วยคณาจารย์และบุคลากรภายใต้สังกัด เข้าร่วมโครงการ Google Coding Teacher Leader เพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพในการสอน “Computational Thinking” ภายใต้การสนับสนุนของ Google
โดยมีนายณัฐพล รุ่งพิทักษ์ไพศาล Support Manager เข้าร่วมให้การอบรม พูดคุยถึง ระบบฝึกฝนพัฒนาทักษะวิชาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาที่เข้าสู่ยุค 4.0 และการใช้ระบบฝึกทักษะทางวิชาคณิตศาสตร์ Online
Star Software ได้ส่งทีมงาน นำโดย
- นายทัศนัย ยิ่งอริยกุล Training Support
- นายอานันท์ มะลิลา Training Support
เข้าร่วมโครงการและให้การอบรมเชิงความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบจัดการทดสอบเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ ของการจัดโครงการดังกล่าว ในครั้งนี้
หลักการและเหตุผล
ด้วยวิชาคณิตศาสตร์เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่มีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนาทักษะและกระบวนการคิด การวิเคราะห์ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวิชาเรียนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยื่งในการพัฒนาทั้งตัวผู้เรียนเอง รวมไปถึงการพัฒนาในระดับมหภาค ซึ่งทุกประเทศต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อปรับพื้นฐานและพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
2. เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนสำหรับการสอบวัดความรู้วิชาคณิตศาสตร์ระดับประเทศ O-Net
3. เพื่อจัดนักเรียนเป็นกลุ่มๆตามระดับความรู้ทางคณิตศาสตร์ในแต่ละเนื้อหา เป็นระดับขั้นตามความเป็นจริงของนักเรียนแต่ละคน
4. เพื่อออกแบบกิจกรรมการสอนให้นักเรียนตามเนื้อหา และตามความรู้ของนักเรียนแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม
ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. โรงเรียนสามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการพัฒนานักเรียนด้านคณิตศาสตร์ได้
2. นักเรียนได้รับการพัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ตรงตามความสามารถของแต่ละคน
3. ผลการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ดีขึ้น
4. คะแนนในการสอบ O-Net สูงขึ้นอย่างน้อย 10 %
5. ผลการสอบเพื่อศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4ของนักเรียนดีขึ้น
ข้อกำหนดและคุณสมบัติเฉพาะของระบบจัดการทดสอบเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์
1. มีแบบฝึกหัดครบทุกบทเรียนตามหนังสือเรียนของ สสวท.
2. แบบฝึกหัดครอบคลุมตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
3. นักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัดผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนได้ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
4. ชุดแบบฝึกหัดที่มีอยู่ในระบบแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
4.1 แบบฝึกหัดปรับพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
4.2 แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
4.3 แบบฝึกหัดเตรียมความพร้อมการสอบ O-Net
5. ชุดแบบฝึกหัดที่มีอยู่ในระบบมีมากกว่า 1,500 ชุด และมากกว่า 18,000 ข้อ
6. ชุดแบบฝึกหัดถูกพัฒนาให้เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก เพื่อให้นักเรียนเกิดความมั่นใจในการที่จะทำแบบฝึกหัดขั้นถัดไป
7. นักเรียนจะต้องทำชุดแบบฝึกหัดให้ได้คะแนนไม่น้อยกว่า 80% จึงจะสามารถเลือกทำชุดถัดไปได้
8. คุณครูและผู้ปกครองสามารถเรียกดูรายงานการฝึกทดสอบของนักเรียนได้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
โดยในการนี้ ทางบริษัท Star Software หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ระบบฝึกฝนพัฒนาทักษะวิชาทางคณิตศาสตร์ในการศึกษาที่เข้าสู่ยุค 4.0 ศตวรรษที่ 21 นี้ จะสามารถช่วยเพิ่มทางเลือกในการให้การบ้านของคุณครู เนื่องจากมีโจทย์มากกว่า 1,500 ข้อในแต่ละระดับชั้น และช่วยลดเวลาการทำงานของคุณครู จากการที่ระบบช่วยหาโจทย์ใหม่ๆ รวมถึงช่วยคุณครูตรวจการบ้าน ซึ่งระบบฝึกฝนและพัฒนาทักษะวิชาทางคณิตศาสตร์นี้ จะขยายผลไปสู่โรงเรียนต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ในยุคการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการศึกษา 4.0 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญและเป็นประโยชน์ทางด้านพัฒนาทักษะวิชาทางคณิตศาสตร์ให้กับโรงเรียนที่สนใจทั่วประเทศต่อไป
อ่านต่อ...
12 กันยายน 2562 18:17
3,986