การเขียนโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาทำความเข้าใจเป้าหมายปลายทางของหลักสูตร
การเขียนโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาทำความเข้าใจเป้าหมายปลายทางของหลักสูตร คือ ระดับคุณภาพของสมรรถนะ และเป้าหมายระหว่างทาง คือ ระดับคุณภาพทักษะการเรียนรู้ หรือทักษะจำเป็นทางสังคมในศตวรรษที่ 21 ที่ทำให้เกิดเป้าหมายปลายทาง และสอดคล้องกับประเด็นพิจารณาการประกันคุณภาพผู้เรียน
สมรรถนะเป้าหมายปลายทางของหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ ตาม ศธ.และ สพฐ.กำหนด คือ (1) สมรรถนะการจัดการตนเอง (2) สมรรถนะการสื่อสาร (3) สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม (4)สมรรถนะการคิดขั้นสูง (5) สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (6) สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน โดยสมรรถนะดังกล่าวจะเกิดจากผลรวมของการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่จัดความรับผิดชอบของกลุ่มสาระฯ ออกเป็น 6 กลุ่มประสบการ์ตามชื่อสมรรถนะเรียงลำดับ คือ (1) กลุ่มสาระฯ สุขศึกษา พละศึกษา (2) กลุ่มสาระฯ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และคณิศาตร์พื้นฐาน (3) กลุ่มสาระฯ การงานอาชีพ (4) กลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ (5) กลุ่มสาระฯ สังคมศึกษาศาสนาวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ (6) กลุ่มสาระฯ วิทยาศาตร์เทคโนโลยี ซึ่งจะทำการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชา เพื่อนำสถานการณ์ท้องถิ่นมากำหนดประเด็นเรื่อง และวิเคราะห์ความรู้ K,P,A ตามตัวชี้วัดรายวิชามากำหนดเงื่อนไขของสถานการณ์ ก็จะได้สมรรถนะรายวิชาตามประเด็นเรื่องของท้องถิ่นที่เป็นเป้าหมายปลายทางรายวิชา
ทักษะจำเป็นทางสังคมในศตวรรษที่ 21 เป็นเป้าหมายระหว่างทาง ใช้สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ได้มาซึ่งสมรรถนะเป้าหมายปลายทางรายวิชา ผู้สอนที่รับผิดชอบรายวิชาจะต้องกำหนดสมรรภนะหรือผลงานประจำหน่วยการเรียนรู้ และจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ประสบการณ์ตามกระบวนการทักษะจำเป็นทางสังคมในศตวรรษที่ 21 ประจำแผนการเรียนรู้ตามภาระงานของผลงาน โดยกิจกรรมการเรียนรู้ประสบการณ์ทักษะแรก คือ ทักษะการตั้งประเด็นปัญหาจากสถานการณ์และเงื่อนไข ทำให้อยากรู้กระบวนการเกิดปัญหาในแต่ละประเด็นเงื่อนไขของสถานการณ์ ทักษะที่สอง คือ ทักษะสืบค้นความรู้ ให้นิยามเพื่อครวจสอบขอบเขตคุณสมบัติ ทักษะที่สาม คือ ทักษะการวิเคราะห์คุณสมบัตินิยามความรู้อธิบายให้เหตุผลที่เป็นสาเหตุปัญหาเชื่อมโยงจัดกระทำต่อกันจนเกิดผลของปัญหา สรุปเป็นคำตอบตามประเด็นเงื่อนไขของแต่ละปัญหา ทักษะที่สี่ คือ ทักษะการประยุกต์ใช้ในการใช้ชิวิตจริงในสถานการณ์ท้องถิ่น ตามเป้าหมายของสมรรถนะเป้าหมายปลายทางรายวิชา อาจเป็นเรื่องสุขภาวะ ทักษะชีวิต สุขนิสัย คุณลักษณะทางสังคม และธรรมชาติ และทักษะต่อไป เป็นทักษะประยุกต์และนวัตกรรม เป็นทักษะการใช้เทคโนโลยี ประยุกต์ เกิดทักษะพัฒนานวัตกรรม โดยทำโครงร่างภาระงานของผลงาน
แนวทางดังกล่าวเป็นการจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้ประสบการณ์ตามหลักสูตร ที่เป็นความรับผิดชอบของกลุ่มสาระฯ ต่อการพัฒนาสมรรถนะตามกลุ่มประสบการณ์ ซึ่งผู้รับผิดชอบกลุ่มประสบการณ์ควรกำหนดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็นการจัดรูปแบบค่ายวิชาการ รูปแบบวันสำคัญของชาติ ศาสนา และการกำหนดกิจกรรมอีกลักษะ คือ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นการเลือกเรียนรู้ประสบการณ์ตามความสนใจของผู้เรียน รูปแบบชุมนุม ชมรม ทัศนะศึกษา ฝึกประสบการณ์ที่สถานประกอบการ เป็นต้น จึงเป็นแนวทางการเขียนกิจกรรมของโครงการตามกลุ่มประสบการณ์ 3 ลักษณะ
อ่านต่อ...
19 เมษายน 2566 13:46
1,423